วัยรุ่นและการพัฒนาการทางเพศ
วัยรุ่นและการพัฒนาการทางเพศ
วัยรุ่นและพัฒนาการทางเพศ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ตลอดจนพัฒนาทางเพศอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนต่อการปฏิบัติตัวจึงมักเกิดปัญหา เช่น การเบี่ยงเบนทางเพศ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่น
1. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
1.1 วัยรุ่นชาย การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัดได้แก่
1. เริ่มมีหนวดเคราที่หยาบแข็ง มีขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าแข้ง และอวัยวะเพศ
2. อวัยวะเพศโตขึ้น และมีการหลั่งน้ำอสุจิออกมาครั้งแรกขณะหลับเรียกว่า “ฝันเปียก”
3. หัวนมจะแข็งเป็นไตหรือก้อนเล็ก ๆ ถ้าถูกสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ เรียกว่า “นมขึ้นพาน” หรือนมตั้งพาน
4. เสียงเปลี่ยนเป็นเสียงแหบและห้าว เรียกว่า“เสียงแตกหนุ่ม”
5. มีกลิ่นตัว และสิวขึ้นตามใบหน้า
6. ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง สะโพกแคบไหล่กว้าง แขนขายาว บางครั้งดูเก้งก้าง
1.2 วัยรุ่นหญิง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัดได้แก่
1. มีขนขึ้นบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ
2. มีประจำเดือนหรือระดู
3. เริ่มมีหน้าอกที่โตขึ้น
4. มีเสียงแหลม
5. มีกลิ่นตัวและสิวขึ้นบนใบหน้า
6. มีใบหน้าสดใส ผิวเปล่งปลั่ง
7. สะโพกผายออก เอวคอดเล็ก
1.2 การยอมรับและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
หลักการปรับตัวของวัยรุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
1. ยอมรับและเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งของตนเองและเพื่อนเป็นเรื่องธรรมชาติ
2. ดูแลรักษาอนามัยของตนเอง ได้แก่ ผิว เล็บ ฟัน เครื่องแต่งกายให้สะอาดอยู่เสมอ
3. ดูแลใส่ใจสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารเสพติด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ของวัยรุ่น
2.1 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์อย่างรวดเร็ว จึงมักถูกเรียกว่า “เป็นวัยอลวน” หรือ “วัยพายุบุแคม” โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. มีความเชื่อ ค่านิยม เจตคติเป็นของตนเอง
2. อยากได้สิ่งใดหรือทำอะไร มักต้องได้หรือกระทำทันที
3. มีความมั่นใจในตนเอง
4. อยากรู้อยากเห็นและอยากลอง
5. อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
6. รักในตนเอง รักสวยรักงาม ชอบส่องกระจกดูความงามของตนเอง
7. ชอบอิสระ ไม่ชอบบังคับหรือมีกฎระเบียบ
8. มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย เพ้อฝัน ขี้อาย เริ่มสนใจเพศตรงข้าม แต่จะไม่แสดงออก
9. วัยรุ่นชายจะชอบความห้าวหาญ ชอบการต่อสู้ ผจญภัย และคึกคะนอง
10. เริ่มมีความต้องการทางเพศ
2.2 การยอมรับและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์อย่างรวดเร็ว หากไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้อาจเกิดปัญหาทางจิตใจ ดังนั้นวัยรุ่นจึงควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดีดังนี้
1. ยอมรับรับสภาพความเป็นจริงของตนเอง โดยรู้จักปล่อยวางในบางเรื่อง
2. พยามยามสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา และพร้อมแก้ปัญหา
3. รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
4. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มองโลกในแง่ดี คิดดี ทำดี ไม่จริงจังกับทุกสิ่งมากเกินไป ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายอารมณ์
5. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง รวมถึงการยอมรับและเข้าใจในอารมณ์ของผู้อื่น
6. ฝึกทำจิตให้สงบมีสมาธิ ไม่คิดฟุ้งซ่าน โดยจิตใจที่สงบและมีสมาธิจะช่วยทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล พร้อมแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
7. หลีกเลี่ยงจากสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่มีผลต่อจิตใจและอารมณ์ เช่น การไม่คบคนพาล เกเร หลีกเลี่ยงจากสารเสพติด การพนัน เกมส์ เป็นต้น
3. พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น
3.1 อวัยวะสืบพันธ์ของเพศชายและเพศหญิง
1. อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
--- 1.1 ท่ออสุจิ คือ ทางเดินของน้ำอสุจิจากลูกอัณฑะสู่ท่อปัสสาวะ
--- 1.2 ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ คือ ต่อมขนาดเท่าเม็ดถั่วลันเตา หลั่งสารเมือกสำหรับหล่อลื่น และส่งท่อเปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะในองคชาต
--- 1.3 องคชาต คือ มีลักษณะเป็นท่อหรือหลอดตั้งอยู่เหนือลูกอัณฑะ ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
--- 1.4 ต่อมลูกหมาก คือ ต่อมสร้างน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิ
--- 1.5 ลูกอัณฑะ คือ มีลักษณะเล็กกลมจำนวน 2 ลูก บรรจุอย่างหลวม ๆ ในถุงอัณฑะ เป็นแหล่งผลิตตัวอสุจิ
2. อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
2.1 ท่อรังไข่หรือปีกมดลูก คือ ท่อขนส่งไข่จากรังไข่ไปยังมดลูก
2.2 มดลูก เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงตั้งอยู่ตรงฐานของช่องท้องมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ขนาดใหญ่เท่ากำปั้น ภายในกลวงเป็นโพรง ตอนปลายแคบและชี้ลงเบื้องล่างเป็นอวัยวะที่ตัวอ่อนจะใช้เป็นที่เจริญเติบโตเป็นทารก
2.3 รังไข่ รังไข่แต่ละข้างจะตั้งอยู่ในปริเวณช่องท้องส่วนล่าง โดยทำหน้าที่ปล่อยไข่ออกมาเดือนละใบสลับกัน
2.4 ปากมดลูก เป็นกล้ามเนื้อที่บีบตัวเข้าหากันเป็นจังหวะ แต่จะเปิดอ้าออกเล็กน้อยเพื่อให้ตัวอสุจิผ่านเข้าไปได้และจะยืดตัวอย่างเต็มที่ เพื่อให้ทารกเคลื่อนตัวผ่านออกไปในระหว่างการคลอด
2.5 ช่องคลอด ปกติช่องคลิดจะแบนเรียบอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกบลำไส้ตรงแต่จะสามารถขยายตัวกว้างออกเพื่อรับองคชาตในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือเพื่อเปิดทางให้ทารกเคลื่อนตัวผ่านออกไปในเวลาคลอดได้
3.2 ต่อมควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ
1. ต่อมใต้สมอง เป็นต่อมที่สำคัญกว่าต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เพราะฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมนี้ จำทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมน มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียงซ้อนกันอยู่ตรงบริเวณใต้สมอง แบ่งออกเป็นสองส่วน
1.1 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต
ของร่างกายให้เป็นไปตามวัย และผลิตฮอร์โมนในเพศหญิงเพื่อเร่งให้ไข่สุก รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงออกมา ตลอดจนกระตุ้นอัณฑะให้สร้างอสุจิและผลิตฮอร์โมนเพศชาย
1.2 ต่อมใต้สมองส่วนหลัง จะผลิตฮอร์โมนที่จะกระตุ้นมดลูกให้บีบตัวขณะคลอดบุตรและควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
2. ต่อมเพศชาย คืออัณฑะ มีหน้าที่
1. ผลิตตัวอสุจิหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย
2. ผลิตฮอร์โมนเพศชาย 2 ประเภท คือ
1) ฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย เช่น การมีหนวดเครา ขนหน้าอก ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง
2) ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดลักษณะเสียงห้าว กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น มีรูปร่างทรวดทรงเป็นชาย มีการหลั่งน้ำอสุจิ ตลอดจนพัฒนาการด้านจิตใจที่เป็นชาย และมีความต้องการทางเพศ
3. ต่อมเพศหญิง คือรังไข่ มีหน้าสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
3.1 ผลิตไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง
3.2 ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง 2 ประเภท คือ
--- 1) ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำหน้าที่ กระตุ้นให้เกิดลักษณะของเพศหญิง ได้แก่ มีเสียงแหลม ใบหน้าเปล่งปลั่ง เอวคอด มีหน้าอก และสะโพกผาย
2) ฮอร์โมนโพรเจสเตอรโรน ทำหน้าที่
2) ฮอร์โมนโพรเจสเตอรโรน ทำหน้าที่ ไปกระตุ้นการสร้างมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และกระตุ้นการผลิตน้ำนมเมื่อมีทารก
4. ต่อมหมวกไต เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายหมวกครอบด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง จึงมี 2 ต่อม แต่ละต่อมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือชั้นนอกและชั้นใน แต่ต่อมหมวกไตชั้นนอกเท่านั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ คือทำหน้าที่ ผลิตฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิง คือ เอสโตรเจน โพรเกสเตอโรน เทสโทสเตอโรน และแอนโดสเตอโรน โดยจะควบคุมความรู้สึกทางเพศ ถ้าต่อมนี้มีความผิดปกติเด็กชายพัฒนาการทางเพศเร็วขึ้น เด็กหญิงจะพัฒนาการทางเพศค่อนไปทางเพศชาย
5. ต่อมไทรอยด์ อยู่ตรงส่วนบนของหลอดลมที่บริเวณลูกกระเดือก มี 2 ส่วน คือ ด้านขวาและด้านซ้ายติดกัน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรรอกซิน ซึ่งควบคุมการใช้พลังงานและการเผาผลาญอาหาร
ถ้าต่อมนี้ทำงานผิดปกติจะทำให้ร่างกายแคะแกร็น สติปัญญาต่ำ อวัยวะเพศเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยสาว ต่อมนี้จะขยายตัวเล็กน้อยในระหว่างที่มีประจำเดือนและระยะตั้งครรภ์ ซึ่งถือว่าปกติ แต่ถ้าต่อมนี้ทำงานผลิตปกติคือผลิตฮอร์โมนได้น้อยกว่าที่ร่างต้องการเนื่องจากขาดธาตุไอโอดีน ต่อมนี้จะขยายตัวใหญ่ขึ้น ทำให้เป็นโรคคอพอก
6. ต่อมไทมัส มีลักษณะเป็นพูทั้งสองพู ติดกันอยู่ตรงบริเวณขั้วหัวใจระหว่างปอด 2 ข้าง
ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้มีความรู้สึกทางเพศที่ผิดปกติ ซึ่งขนาดของต่อมไทมัสจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของคนจะผกผันตามอายุของคนทารกจะยาวแก่จะสั้น
3.3 การยอมรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทางเพศ
เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นการมีความต้องการทางเพศเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหมกมุ่นมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้
ข้อปฏิบัติต่อการยอมรับและปรับตัวต่อการพัฒนาการทางเพศ
1. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
2. ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศของตนเอง
3. รู้จักปฏิบัติตัวให้เหมาะสมต่อตนเองและเพศตรงข้าม
4. รู้จักทักษะในการแก้ปัญหาทางเพศ
5. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ
6. ดูแลสุขอนามัยทางเพศของตนเองให้ถูกต้อง โดยการปฏิบัติดังนี้ อาบน้ำให้สะอาดและสวมเสื้อผ้าที่ซักแล้ว เพื่อให้มีกลิ่นตัวสะอาด เพื่อป้องกันการเกิดสิว เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ขณะมีประจำเดือน เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมม และเมื่อเกิดปัญหาทางเพศควรไปพบแพทย์
7. เมื่อมีปัญหาเรื่องเพศ ควรปรึกษาพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ เพื่อให้ท่านชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกให้ได้
4. การเบี่ยงเบนทางเพศ
การเบี่ยงเบนทางเพศเป็นปัญหาทางเพศแบบหนึ่ง ซึ่งพบได้ทั้งเพศหญิงเพศชาย โดยบุคคลอาจแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศหรือผิดปกติทางเพศขึ้น ทำให้สังคมเกิดความรู้สึกถึงความไม่ถูกต้องตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนดไว้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
4.1 สาเหตุของการเบี่ยงเบนทางเพศ
1. การอบรมเลี้ยงดู
2. การมีบุคลิกภาพที่แปรปรวนอันเนื่องมาจากจิตใต้สำนึกของตนเอง เช่นการมีปมด้อย
3. ความรู้สึกเก็บกดทางเพศ
4. สภาพแวดล้อม
5. การเลียนแบบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงทางเพศ
4.2 ลักษณะการเบี่ยงเบนทางเพศ
1. ความแปรปรวนในเอกลักษณ์ทางเพศของตนเอง หมายถึง มีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเพศของตนเอง เช่นชายอยากเป็นหญิง หญิงอยากเป็นชาย
2. พฤติกรรมเบี่ยงเบนในการปฏิบัติทางเพศ เป็นพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ที่พบเห็นบ่อยได้แก่
1. ลักเพศ คือ บุคคลที่มีความสุขจากการแต่งตัว แต่งหน้า สวมใส่เสื่อผ้า แสดงท่าทางของเพศตรงข้าม
2. ถ้ำมอง คือ บุคคลที่มีความสุขจากการแอบดู
3. ชอบอวดอวัยวะเพศ คือ บุคคลที่มีความพึงพอใจหรือมีความสุขจาการเปิดเผยอวัยวะเพศของตนเอง ให้คนอื่นได้ดู
4. การทำอนาจารเด็ก คือ บุคคลที่มีความสุขกับการได้ร่วมเพศกับเด็ก
5. เบียดเสียด ถูไถ คือ บุคคลที่มีความสุขกับการได้ใช้อวัยวะเพศถูไถกับอวัยวะของเพศตรงข้าม
6. ซาดิสม์ คือ บุคคลที่มีความสุขกับการกับการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด
7. เพศร่วมสายเลือด คือ บุคคลที่มีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว
8. เพศกับวัตถุ คือ บุคคลที่มีความสุขกับการใช้สิ่งของในการระบายความใคร่
9. ตัณหาจัด คือ มีความต้องการทางเพศสูงจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้
10. พูดจาลามก เป็นการคุกคามทางเพศที่เป็นวาจา
11. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อยครั้ง การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองถือว่าเป็นเรื่องปกติแต่ถ้าหมกมุ่นมากเกินไป จะถือว่ามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
4.3 การแก้ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
1. การสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง
2. การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง
3. สถาบันการศึกษาควรมีหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่องเพศ
4. การสร้างเครือข่ายทางสังคม
5. หลีกเลี่ยงการใช้การบังคับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น